วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2551

ไมโครซอฟท์เปิดดีลใหม่หวังถล่มVMware


ไมโครซอฟท์ ยักษ์ใหญ่ไอทีสัญชาติอเมริกัน ประกาศซื้อกิจการบริษัทเลือดใหม่นามคาลิสต้าเทคโนโลยีส์ (Calista Technologies) พร้อมๆกับการขยายความร่วมมือกับบริษัทซิทริกซ์ซิสเต็มส์ (Citrix Systems) สิ่งที่เกิดขึ้นถูกมองว่า ไมโครซอฟท์กำลังพยายามรุกตลาดซอฟต์แวร์เครือข่ายคอมพิวเตอร์เสมือนหรือเวอร์ชวลไลเซชันที่กำลังรุ่งเรืองสดใส ซึ่ง VMware ในฐานะผู้นำตลาดย่อมกลายเป็นเป้าหมายอันดับหนึ่งโดยปริยาย นาตาลี นัมเบิร์ต นักวิเคราะห์ของฟอร์เรสเตอร์รีเสิร์ช คือหนึ่งในผู้ที่อ่านเกมความเคลื่อนไหวของไมโครซอฟท์ว่ากำลังพยายามเข้าสู่ตลาดเวอร์ชวลไลเซชัน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้คอมพิวเตอร์เพียงหนึ่งตัวสามารถทำงานเป็นคอมพิวเตอร์เสมือนหลายๆเครื่องได้ ผลที่เกิดขึ้นคือคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆจะสามารถรันซอฟต์แวร์ได้หลายชนิด หลายระบบปฏิบัติการ โดยที่เจ้าของไม่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่หลายเครื่อง "ความเคลื่อนไหวของไมโครซอฟท์แปลว่ากำลังให้ความสนใจธุรกิจเวอร์ชวลไลเซชันอย่างจริงจัง ซึ่งเมื่อคิดถึงตลาดเวอร์ชวลไลเซชันก็ต้องคิดถึง VMware เชื่อว่า VMware คืออุปสรรค์ที่ไมโครซอฟท์มองว่าต้องข้ามไป" ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ไม่เปิดเผยจำนวนเงินที่ซื้อบริษัทคาลิสต้าระบุเพียงว่าเป็นบริษัทที่พัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์เวอร์ชวลไลเซชันได้จากทางไกล ขณะที่ซิทริกซ์เป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชันนาม Hyper-V ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์เขียนโปรแกรมที่ซิทริกซ์ร่วมมือกับไมโครซอฟท์เพื่อให้ผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows Server 2008 สามารถรองรับผลิตภัณฑ์ XenServer ของซิทริกซ์ได้ ไม่ใช่เพียงไมโครซอฟท์ แต่ออราเคิลและซันล้วนมีท่าทีตีตื้น VMware ทั้งสิ้น จุดนี้นักวิเคราะห์เชื่อว่าสงครามเวอร์ชวลไลเซชันนั้นเพิ่งเริ่มต้น และทุกบริษัทจะมุ่งพัฒนาให้เทคโนโลยีของตัวเองสามารถใช้งานได้กับผลิตภัณฑ์จากทุกค่าย ตั้งแต่ซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยไปจนถึงไมโครชิป หลังจาก VMware ถูกอีเอ็มซีซื้อหุ้นส่วนใหญ่ไป มูลค่าหุ้นของบริษัทก็พุ่งขึ้นเกือบสามเท่าตัวเมื่อเทียบจากมูลค่าไอพีโอที่เปิดตลาดครั้งแรก สะท้อนให้เห็นว่านักลงทุนมีท่าทีเชื่อมั่น VMware มากแม้ในสถานการณ์แข่งขันที่ดุเดือดเช่นนี้

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2551

สัมมนากลุ่มใหญ่

การสัมมนาครั้งนี้ได้เชิญวิทยากรจากโรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่ โดยคุณศรีทัย สีทิพย์ ซึ่งสัมมนาในหัวข้อเรื่องการยกระดับการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม คำว่า ทีมงาน มีความหมายหลายลักษณะ แต่ความหมายหลาย ๆ ความหมายจะเน้นความสำคัญอยู่ที่กลุ่มของบุคคลที่จะร่วมในกิจกรรมมีการเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน มีการวางแผนร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ทีมงาน (Team work) หมายถึง ที่รวมกำลังกันทั้งคณะ ซึ่งทีมงานที่มีประสิทธิภาพควรมีลักษณะ
1. ทีมงานที่ทำงานเพื่อเป้าหมายร่วมกัน
2. มีความขัดแย้งระหว่างสมาชิกน้อยมาก
3. สมาชิกแต่ละคนมีพฤติกรรมสนับสนุนกันและกัน
4. การติดต่อสื่อสารเป็นไปโดยเปิดเผย
5. สมาชิกทำงานร่วมกันเกี่ยวกับเป้าหมายต่าง ๆ ขององค์การ
ดังนั้น การทำงานเป็นทีมจะสมบูรณ์ได้จำเป็นต้องใช้ความพยายามอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องยาวนานจนเป็นที่พึงพอใจของสมาชิกทุกคนแล้วสมาชิก จะรักษาสถานภาพที่ดีของทีมไว้ เพื่อพัฒนางานให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

สัมมนากลุ่ม 5

การสัมมนาครั้งนี้เป็นของเพื่อนๆกลุ่มที่ 5 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับเรื่อง ไอทีในยุคปัจจุบันและแนวโน้มไอทีในอนาคต ซึ่งวิทยากรท่านเป็นครูที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี โดยครูอภิวันท์ จักรคำ ก็การจัดสัมมนาของเพื่อนกลุ่มนี้ก็มีข้อผิดพลาดหลายอย่าง แต่ก็ควรปรับปรุงและแก้ไขในกลุ่มต่อไป ส่วนเนื้อหาที่ได้รับในการสัมมนาครั้งนี้ก็ได้รู้เกี่ยวกับการใช้ไอทีในยุคปัจจุบันและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับไอทีในอนาคต

วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2551

สัมมนาของกลุ่มที่ 4

เรื่อง ธรรมะกับไอที
หัวข้อเรื่อง ธรรมมะกับไอทีโดยพระสามารถ เมธาอนันต์กุล จากวัดสว่างบรรเทิง
ได้รับความรู้เรื่องธรรมะมากขึ้น ได้ทราบถึง ความหมายของธรรม มีอยู่ 3 ข้อ
1.ทุกสรรพสิ่ง คือ ธรรม
2.คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า คือ ธรรม
3.สิ่งดี คือ ธรรม
และยังได้สอดแทรกมุขต่างเข้าไปทำให้ไม่รู้สึกเบื่อ พร้อมทั้งมีกิจกรรมให้ทำ พร้อมทั้งมีแง่คิดให้คิดตามไปด้วย
ฝึกทั้งจิตใจ สมาธิ สติปัญญา มากมาย บางสิ่งที่เราคิดไม่ถึง ก็ได้รับรู้เปิดโลกกทัศน์
และสิ่งที่พระอาจารย์สามารถ ฝากทิ้งท้าย ก็คือ การเป็นคนที่รูจักใช้เงิน รู้จักการใช้เงินให้เป็น
และในบางครั้งเราก็ต้องทำเป็นหูหนวกบ้าง ไม่สนใจเสียงรอบข้างที่มันทำร้ายจิตใจเรา เราระลึกตัวเองเสมอว่าเราทำดีที่สุดแล้ว และจงทำความดีนี้ต่อๆ ไป เพื่อความก้าวหน้าในอนาคตของตัวเราเอง

การสัมมนากลุ่ม 3

สัมมนาในหัวข้อเรื่อง เทคโนโลยีในวันนี้ และแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีในอนาคต โดย (อ.อรรถพร คำพวง) วิทยากรซึ่งเป็นอาจารย์ของสถาบันการพลศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ มาเป็นผู้บรรยายการบรรยายในครั้งนี้ท่านวิทยากรได้พูดถึงแนวโน้มของอาชีพผู้ที่จบคอมพิวเตอร์ธุรกิจว่า ในปัจจุบันผู้ที่เรียนคอมพิวเตอร์นั้นมีจำนวนมาก และไม่มีงานทำ เพราะว่าผู้ที่เรียนจบไปยังค้นหาตัวเองเจอ ว่าตัวเองถนัดงานด้านไหนจึงหางานไม่ค่อยได้ จึงทำให้ในขณะนี้จึงเกิดแนวอาชีพหลายด้านที่นอกเหนือจากงานหลักๆ ของนักคอมพิวเตอร์ในสมัยก่อนมากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นโอกาสสำหรับผู้ที่ต้องการความท้าทายในรูปแบบใหม่ที่ต้องการอาชีพใหม่ๆ และท่านวิทยากรก็ได้บอกว่า การจะสมัครงานนั้นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับผู้ชายและผู้หญิงนั่นก็คือ บุคคลิกภาพนั้นเองไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย ทรงผม และความรู้ที่จะมอบให้กับองค์กรนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญที่นักศึกษาจะต้องมี การสัมมนาในครั้งนี้ได้ประโยชน์อย่างมาก ก่อนที่จะจบไปทำงาน ก็ขอขอบคุณท่านวิทยากรเป็นอย่างสูงที่มาให้ความรู้ถึงสภาพการใช้เทคโนโลยีในปัจจุบันนี้ว่าไปถึงไหนแล้วและในอนาคตข้างหน้าอันไม่ไกลนี้ ตลอดจนถึงแนวทางในการที่จะก้าวออกไปทำงานด้วยตัวของเราเอง และเกร็ดความรู้ต่างๆที่สอดแทรกมอบให้กับเนื้อหา

กล้องดิจิตอลดัมพ์ราคา20%

กล้องดิจิตอลดัมพ์ราคา20%
นายชาญ เธียรกาญจนาวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บิ๊ก คาเมร่า ผู้ดำเนินธุรกิจร้านค้าปลีกจำหน่ายกล้องดิจิตอล ภายใต้ชื่อ บิ๊ก คาเมร่า และบิ๊ก โปร คาเมร่า กล่าวว่า ในไตรมาสแรกปีนี้คาดแนวโน้มราคากล้องถ่ายภาพนิ่งดิจิตอล (ดีเอสซี) และระดับมืออาชีพ (ดีเอสแอลอาร์) จะปรับราคาลดลงอีกประมาณ 10-20% สำหรับกล้องรุ่นเดิมที่มีอยู่ในตลาด เนื่องจากเจ้าของสินค้าแบรนด์เนมยี่ห้อต่างๆ เตรียมเปิดตัวพร้อมทำตลาดกล้องดิจิตอลรุ่นใหม่และคุณสมบัติใหม่ๆ ในปีนี้ แนวโน้มดังกล่าวต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายสินค้ากล้องดิจิตอลรายใหญ่ต้องปรับกลยุทธ์การทำตลาดด้วย จากกำไรที่ลดลงจากขายกล้องดิจิตอลแบบพกพา หรือคอมแพ็ก หันไปขายกล้องระดับบนหรือไฮเอนด์ที่กำไรต่อหน่วยมาก
ขณะที่กล้องแบบมืออาชีพจะมีอัตราเติบโตในตลาดเพิ่มขึ้น โดยในเดือน ม.ค. นี้ คาดมีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 10% จากปีที่ผ่านมา ทั้งตลาดมีกล้องดิจิตอลระดับมืออาชีพสัดส่วนเพียง 5% เท่านั้น เห็นได้จากยอดขายกล้องดิจิตอลมืออาชีพผ่านร้านบิ๊ก คาเมร่า และบิ๊ก โปร คาเมร่า ในแต่ละเดือนมียอดขายเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 5 พันตัว สำหรับแผนลงทุนปีนี้ บริษัทเตรียมใช้งบกว่า 50-60 ล้านบาท สำหรับขยายร้านบิ๊ก คาเมร่า และบิ๊ก โปร คาเมร่า สาขาใหม่คาดสิ้นปีครบ 160 สาขา แบ่งเป็นบิ๊ก คาเมร่า 140 สาขา และบิ๊ก โปร คาเมร่า 10 สาขา
ส่วนตลาดรวมกล้องดิจิตอลในประเทศปีที่ผ่านมามีอัตราเติบโตเชิงปริมาณราว 15% หรือ 8-9 แสนยูนิต แต่เติบโตเชิงมูลค่าไม่มากนัก ขณะที่ปีนี้คาดว่าตลาดกล้องดิจิตอลจะมีอัตราเติบโตดีทั้งปริมาณและมูลค่า แต่ต้องดูภาพรวมเศรษฐกิจและกำลังซื้ออีกครั้ง โดยในปีที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้อยู่ที่ 1.2 พันล้านบาท ถือว่าน่าพอใจ แม้เป้าเดิม วางไว้ 1.3 พันล้านบาท ปีนี้ตั้งเป้ารายได้โต 10%