วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550

สัมมนากลุ่ม 2

เรื่อง Net cafe เส้นทางสู่เถ้าแก่น้อย
วันที่ 26 พฤศจิกายน 2550 เวลา 13.00 - 16.00 น.
ห้อง A 102 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่วิทยาเขตแม่สา
โดยวิทยากร
- คุณพีรพัฒน์ พัชรศาสตรา เจ้าของร้าน Peenet CM Internet & Games
เนื้อหาการสัมมนา
1. เส้นทางสู่ธุรกิจการบริการ Net cafe
- ความเป็นไปได้การทำธุรกิจบริการอินเตอร์เน็ต
- กลยุทธ์ดฃการค้นหาทำเลที่ตั้งของกิจการ
- Knowledge & Skill ด้านธุรกิจและกฎหมาย
- การบริหารเงินทุนและแหล่งเงินทุน
- เริ่มต้นการประกอบการที่ ศาลากลาง พาณิชย์จังหวัด
- ดำเนินการต่อ กระทรวงวัฒนธรรม
- ดำเนินการต่อ ที่ว่าการอำเภอในเขตพื้นที่
- ดำเนินการต่อ สำนักงานตำรวจในเขตพื้นที่
- การจัดการโครสร้างและตกแต่งร้าน
- การเลือกสรร เครื่องที่ให้บริการ
- การจัดการบริหารเกี่ยวกับ ลิขสิทธิ์ซอฟแวร์
- การจัดการบริหารเกี่ยวกับ ISP
- การบริการจัดการระบบภายในร้าน
- หลยุทธ์ให้บริการ Net Cafe
- แนวทางการพัฒนาและการปรับปรุงให้บริการ
2. ผลกระทบต่อเส้นทางธุรกิจ Net cafe ในปัจจุบัน
- เริ่มต้นจากความคิดริเริ่มที่จะทำธุรกิจโดยผู้ที่จุดประกายคือ คุณแม่ จากนั้นได้เซ้งร้านอินเตอร์เน็ตเล็ก ๆ บนถนนทุ่งโฮเต็ลเมื่อปี 2547 จากเงินทุนที่กู้มาจากธนาคาร
- ปัจจุบันมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการจำนวน 14 เครื่อง
- Internet ที่ให้บริการเป็นแบบ High Speed ADSL ความเร็ว D/L 2048kbps U/l 512 kbps
- การเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของเทคโนโลยี
- สภาพเศรษฐกิจ กฎหมายและการเมืองในปัจจุบัน
- กฎหมายเกี่ยวกับ ทรัพย์สินทางปัญญาและกฎของกระทรวงวัฒนธรรม
- คู่แข่งของกิจการ และปัญหาอื่น ๆ
3. ตัวอย่างกรณีศึกษากลยุทธ์ความสำเร็จเกี่ยวกับการบริการ Net cafeในยุคเศรษฐกิจพอเพียง
- ร้าน O-Zone Net ปัจจุบันมีทั้งหมด 5 สาขา สาขาที่ 1-3 บริเวณ 5 แยกสันติธรรม สาขาที่ 4 ใกล้ตลาดธานินท์ สาขาที่ 5 หน้าม.เชียงใหม่
ภาพรวมของการสัมมนา
สัมมนาของกลุ่มนี้วิทยากรบรรยายได้ดี ให้ความรู้แก่ผู้ที่เข้าร่วมสัมมนาได้เป็นอย่างดี คำถามเป็นคำถามที่ดีแมสาระเป็นอย่างมาก โดยรวมถือว่ากลุ่มนี้จัดสัมมนาได้ดีมาก

สัมมนากลุ่ม 1

เรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในยุตเศรษฐกิจพอเพียง
วันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 เวลา 13.00 - 16.00 น.
ห้อง A 102 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่วิทยาเขตแม่สา
โดย
- ศาสตราจารย์อนุรักษ์ กันธี
- คุณจงพิชิต วิชัย
- คุณอุทุมพร ร่มเย็น
- คุณทิพากร ปิ่นใหญ่
เนื้อหาการสัมมนา
1. ความเป็นมาและความสำคัญของเทคโนโลยีเทคโนโลยีสารสนเทศหรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คือเทคโนโลยีทั้งสองด้านผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนทศในรูปแบบต่าง ๆความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมเป็นสังคมสารสนเทศ
- ทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติเป็นเศรษฐกิจโลก
- ทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น
- เป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียะสัมผัส
- ทำให้เกิดสภาพทางการทำงานทุกสถานที่และทุกเวลา
- ก่อให้เกิดการวางแผนการทำงานระยะยาวขึ้น
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
- การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส
- สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน
- เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม
- เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกับประเทศ
- การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม
2. ความเป็นมาและความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ
3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในยุคเศรษฐกิจพอเพียงคนในชุมชนป่าไผ่มีวิธีการดำเนินชีวิตตามหลักปรัญญาเศรษฐกิจพอเพียง การกินอยู่อย่างพอเพียง ในยุคที่เทคโนโลยีกำลังพัฒนาคนในชุมชนก็พร้อมรับกับเทคโนโลยีที่กำลังก้าวเข้ามาชุมชน เช่น
- การทำนา จากวิถีชีวิตแบบเดิมที่ใช้คนเป็นแรงงานก็เปลี่ยนเป็นเครื่องจักร
- การเลี้ยงกบและสัตว์น้ำนานาชนิด
- การทำก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์
4. ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการดำเนินชีวิตในยุคเศรษฐกิจพอเพียง
- ผลกระทบทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ
- ผลกระทบด้านกฎหมาย ศีลธรรมและจริยธรรม
- ผลกระทบในทางด้านบวกของเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ผลกระทบในทางด้านลบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ภาพรวมของการสัมมนา
เป็นการสัมมนากลุ่มแรก ทำให้ยังมีการข้อผิดพลาดอยู่พอสมควร วิทยากรมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องจะบรรยายน้อยเกินไป ส่วนสถานที่จัดได้ดีมาก รวมถึงคำถามที่เป็นคำถามที่ดีมาก โดยรวมการสัมมนาอยู่ในขั้นที่ดี

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ผิดคาดวัยรุ่นไทยบุกคอมมาร์ต คอม เทค 2007 ช้อปไอที

นายปฐม อินทโรดม ผู้จัดการทั่วไปบริษัท เอ.อาร์.อินฟอร์เมชั่น แอนด์ พับลิเคชั่น จำกัด กล่าวว่า คอมมาร์ต คอมเทค 2007 ถือเป็นงานแสดงไอทีครั้งสุดท้ายของปี 2550 จึงทำให้ผู้บริโภคให้การยอมรับไม่พลาดที่จะชม โดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและเล็กหรือ SML ที่เป็นเป้าหมายของงานที่ต้องกระตุ้นไอที ยกระดับการทำงาน แต่ผิดคาดงานวันแรกคือวันที่ 1 พ.ย. 2550 กลับพบว่าวัยรุ่นเป็นกลุ่มที่เดินดูสินค้าในงานมากที่สุด ขณะที่กลุ่มเป้าหมายของงานอยู่ในห้องสัมมนามากกว่า จึงไม่ค่อยมีสีสันที่หวือหวา โดยผลการสำรวจ 8 รายการที่วัยรุ่นสนใจสินค้าไอที อันดับ 1 คือ เครื่องเล่นเพลงไอพ็อดของแอปเปิ้ล รองลงมาเป็นกล้องดิจิตอล และอุปกรณ์จีพีเอส ทำให้ในงานนี้มีเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 3 พันล้านบาท โดยงานนี้จัดขึ้นในวันที่ 1-5 พ.ย. 2550 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติ สิริกิติ์

ยังไม่สรุปยอดไอซีทีเอ็กซ์โป ปีหน้าจัด ร่วมเทเลคอมเอเชีย

นายสือ ล้ออุทัย รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงไอซีที กล่าวถึงการจัดงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล ไอซีที เอ็กซ์โป 2007 และงานไทยแลนด์ แอนิเมชัน แอนด์ มัลติมีเดีย หรือ แทม 2007 ในช่วงที่ผ่านมา ว่า ยังไม่ได้รับรายงานว่า ผลเป็นอย่างไร แต่เข้าใจว่า มีคนเข้าชมงานมากพอสมควร อย่างไรก็ตาม ตามที่สื่อมวลชนเคยพูดไว้ว่า ไอซีทีฟอรัมมีคนฟังน้อย และบังเอิญปีนี้ เป็นครั้งแรกที่ให้คนเข้าฟังเสียค่าลงทะเบียน เพราะเชิญวิทยากรที่มีชื่อเสียงมาบรรยายรักษาราชการแทนปลัดกระทรวงไอซีที กล่าวต่อว่า จริงๆ แล้ว บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด ผู้จัดการสัมมนาแจ้งว่า ขายบัตรได้ แต่คนที่ซื้อไปไม่เข้าร่วมฟังการสัมมนา ตรงนี้ เป็นปัญหาที่จะต้องปรับปรุง ส่วนกรณีที่บริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ไม่เข้าร่วมงานก็จะต้องนำไปแก้ไข โดยยอมรับว่า มีปัญหา ที่อาจเป็นเพราะช่วงระยะเวลาการเตรียมงานสั้นเกินไป เพราะอี-อ๊อคชั่น 2 ครั้ง และไม่ได้ผล จึงวางแผนว่า จะไม่จัดงาน แต่เมื่อภาคเอกชนให้ข้อเสนอะแนะว่า จะต้องจัดงานต่อเนื่องเลยตัดสินใจจัดงานด้วยเวลากระชั้นชิด และได้ บริษัท อิมแพ็คเข้ามาจัดงาน“อิมแพ็คเป็นภาคเอกชน เวลาติดต่อกับบริษัทต่างๆ ความร่วมมือก็อาจจะไม่เต็มที่ ทั้งๆ ที่บางบริษัทตอบรับแล้วว่า จะมา แต่พออาทิตย์สุดท้ายก็ปฏิเสธ ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องแก้ไข” นายสือ กล่าว และว่า สำหรับปีหน้าลักษณะของงานอาจจะแตกต่างจากงานลักษณะนี้ ไป เพราะในปีหน้าประเทศไทยจะจัดงานไอทียู เทเลคอมเอเชีย 2008 ระหว่างวันที่ 2-5 ก.ย. 2551 และมีบริษัทด้านไอซีทีทั่วโลก ที่ไอทียู หรือ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ เป็นผู้ติดต่อเข้ามาร่วมงาน ดังนั้น จึงต้องไปพิจารณาดูว่า งานไอซีที เอ็กซ์โป ที่จะเข้าไปผนวกกับงานไอทียู เทเลคอม เอเชีย จะเป็นไปในลักษณะไหนรักษาราชการแทนปลัดกระทรวงไอซีที กล่าวอีกว่า คิดว่า การจัดงานไอซีที เอ็กซ์โปครั้งนี้ ประสบความสำเร็จพอควร โดยเชื่อว่า ตามเป้าหมายเดิมที่ได้ตั้งไว้น่าจะถึง เพียงแต่ว่า ในส่วนที่มีข้อผิดพลาด คือ ไอซีทีฟอรัม ที่เสียค่าลงทะเบียนและทำให้คนเข้าฟังน้อยเกินไป แต่คิดว่า ในส่วนฟอรัม ที่ภาคเอกชนต่างๆ จัดขึ้นเองและไม่ต้องเสียค่าลงทะเบียนเข้าฟังมีคนสนใจค่อนข้างมาก เช่น ในเรื่องอี-เลิร์นนิ่ง ที่มีการส่งรายงานมาและมีการนำเสนอได้ผลดีพอสมควร